ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence)
Artificial Intelligence
ปัญญาประดิษฐ์ คืออะไร
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial
Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลายๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เช่น
•
การเรียนรู้ของเครื่อง นั้นมีเทคนิคการเรียนรู้ที่เรียกว่า การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ ซึ่งประยุกต์เอาเทคนิคการอุปนัย
ของ จอห์น สจวร์ต มิลล์ นักปรัชญาชื่อดังของอังกฤษ มาใช้
• เครือข่ายประสาทเทียมก็นำเอาแนวคิดของการทำงานของสมองของมนุษย์ มาใช้ในการแก้ปัญหาการแบ่งประเภท
ของข้อมูล และแก้ปัญหาอื่นๆ ทางสถิติเช่น การวิเคราะห์ความถดถอยหรือ การปรับเส้นโค้ง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันวงการปัญญาประดิษฐ์มีการพัฒนาส่วนใหญ่โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ อีกทั้งวิชาปัญญาประดิษฐ์ ก็ต้องเรียนที่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ เราจึงถือเอาง่ายๆว่า ศาสตร์นี้เป็นสาขาของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั่นเอง
ปัญญาประดิษฐ์ ในภาษอังกฤษเรียกว่า Artificial
Intelligence มีคำย่อว่า AI เป็นความฉลาด ความรู้ที่สร้างขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต ซึ่งรวบรวมหลายๆสิ่งไว้ในสิ่งนั้นเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ให้สามารถคิดและเป็นผู้ช่วยในด้านต่างๆ อาทิเช่น ระบบนำทางรถยนต์ไร้คนขับ, ช่วยผู้อัจฉริยะในสมาร์ทโฟน
ปัญญาประดิษฐ์ เป็นการสร้างความฉลาดให้กับสิ่งไม่มีชีวิต เพื่อให้สามารถคิด ทำงาน และเรียนรู้ได้เอง โดยมีจุดประสงค์หลักก็ทำเพื่อให้มันสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ ในช่วงเริ่มแรกมักจะนำมาใช้ในงานที่ต้องทำซ้ำๆ หรือเป็นงานที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตได้ แต่ในโลกแห่งจินตนาการของมนุษย์ยังคงไม่ได้หยุดอยู่แค่จินตนาการในโลกแห่งภาพยนต์และนิยายวิทยาศาสตร์เท่านั้น ยังคงมีความพยายามว่าจะทำให้เกิดขึ้นมาจริงๆให้ได้ และก็พยามยามนั้นก็เป็นผลจริงๆ แม้ตอนนี้จะได้เพียงแค่เริ่มต้น
AI ในระดับของสติปัญญาต่างๆ
มีการแบ่งหรือจำแนก AI ออกมาเป็นหลายๆแบบ ตามคุณลักษณะต่างๆของ แต่การแบ่ง AI ตามระดับความสามารถและสติปัญญาดูจะเข้าใจง่ายและใช้กันแพร่หลาย ซึ่งมีการจำแนกออกเป็น 3 ระดับดังนี้
• Artificial Narrow
Intelligence (ANI) หรืออาจจะเรียกว่า Weak AI ซึ่งเป็น AI “ปัญญาประดิษฐ์” :ซึ่งมีระดับระดับสติปัญญาที่มีความสามารถในการทำงานได้ในเรื่องแคบๆอยู่ในวงจำกัด เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นในปี 1997 IBM สร้างคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถเอาชนะแชมป์หมากรุกได้ ในยุคปัจจุบัน Google สามารถสร้างรถยนต์ไร้คนขับได้ SIRI ของแอปเปิ้ลสามารถสื่อสารพูดคุยกับคนได้ นั่นก็สามารถทำได้เพียงแต่แค่นั้น มันยังคงไม่มีความสามารถ และมีสติปัญญาคิดไปทำอย่างอื่นในขอบเขตที่กว้างไกลใกล้เคียงมนุษย์ได้
• Artificial General
Intelligence (AGI) อาจเรียกว่า Strong AI ซึ่งเป็นสติปัญญาเทียบเท่ามนุษย์ เป็น AI ปัญญาประดิษฐ์ ที่ความสามารถในการทำงานได้เทียบเท่ากับสมองมนุษย์ ในปัจจุบันเรายังไม่สามารถสร้าง AGI ได้ แต่ศาสตราจารย์ Linda
Gottfredson ได้อธิบายว่า AGI ปัญญาประดิษฐ์ในระดับนี้เป็นความสามารถทั่วไปเกี่ยวกับจิตใจความนึกคิดมากกว่าอย่างอื่น โดยจะเกี่ยวข้องกับ ความสามารถในการเรียนรู้ วางแผน การแก้ปัญหา รู้จักคิดในเชิงนามธรรม มีความคิดที่สลับซับซ้อน เรียนรู้ได้เร็ว เรียนรู้จากประสบการณ์ โดยปัญญาประดิษฐ์ในระดับ AGI จะสามารถทำได้อย่างง่ายดายเหมือนกับที่มนุษย์ทำได้
• Artificial
Superintelligence (ASI) เราอาจเรียก ASI ซุปเปอร์ปัญญาประดิษฐ์ มีปัญญาเหนือมนุษย์ Nick Bostrom
จากออกฟอร์ดซึ่งเป็นนักปรัชญาและผู้นำด้านความคิดด้าน AI ให้คำจำกัดความของ ASI ว่ามันจะฉลาดและมีปัญญามากกว่าสมองมนุษย์ที่ดีที่สุดในทุกๆด้าน รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ในทางวิทยาศาสตร์ เรื่องทั่วๆไป แม้กระทั่งความสามารถในการเข้าสังคม
มุมมองต่อ AI ที่แต่ละคนมีอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความฉลาดโดยคำนึงถึงพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมหรือคำนึงการคิดได้ของผลผลิต AI ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการ ให้มันแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
Acting Humanly : การกระทำคล้าย มนุษย์ เช่น
- สื่อสารกับ มนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language
processing) อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้
- มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer
vision) คอมพิวเตอร์มองเห็น รับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor)
- หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
- machine learning หรือคอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามาถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
Thinking
Humanly : การคิดคล้าย มนุษย์ ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive
science เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร
Thinking
rationally : คิดอย่างมี เหตุผล หรือคิดถูกต้อง โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ
Acting
rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น agent
(agent เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลคือ agent ที่กระทำการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น agent ใน ระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่ สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้จึงจะเรียกได้ ว่า agent กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น agent ใน เกมหมากรุกมีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น
เราใช้เทคโนโลยี AI อยู่บ้างไหมในชีวิตประจำวัน
ในโลกปัจจุบันเราคงอยู่ในยุคของANIคือปัญญาประดิษฐ์ ในระดับต่ำคือระดับเบื้องต้นยังเพียงแค่ทำงานได้เฉพาะส่วนๆไปๆ เป็นบางเรื่องบางราวที่เก่งเท่าหริอฉลาดเท่ากับมนุษย์ และเราก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆหลายเรื่องหลายราวที่แวดล้อมเราอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือสิ่งที่อยู่ระหว่างการทดลอง ล้วนแต่บงชี้ให้เราเห็นถึงทิศทางของการพัฒนา ปัญญาประดิษฐ์ จะยกตัวอย่างเพียงไม่กี่ตัวอย่างที่เราพบอยู่เป็นประจำ เช่น
• Facebook ล้วนเป็นความสามารถของ ANI และมาร์ค ซัคเคอร์เบอร์ค ผู้ก่อตั้งเฟสบุ๊ค ยังได้สร้าง AI ควบคุมการทำงานในบ้านส่วนตัวของเขา เหมือนกับ JARVIS ของ โทนี่ สตาร์ค ในภาพยนต์ IRON MAN โครงการนี้ของมาร์ค ชื่อ Javis เช่นกัน โดย Javis มีความสามารถในการควบคุมสิ่งต่างๆในบ้าน เช่น ควบคุมอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าต่างๆ ในบ้าน คอยเตือนว่ามีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นในห้องของ MAX ลูกชายของมาร์ค และยังสามารถเชิญแขกของมาร์คเข้ามาในบ้าน และเตือนมาร์คว่ามีแขกมาหา ทั้งหมดนี้ควบคุมด้วยเสีย โดย Javis จะใช้เสียงของ Morgan Freeman แทนตัวเอง ต่อไปคุณอาจจะเห็น Javis มาเล่นเฟสบุคก็ได้
• Search Engine กูเกิ้ลนับว่ามีความสำคัญเกือบจะเทียบเท่าปัจจัยที่ 4 เลยทีเดียว ถ้าเราไม่มีกูเกิ้ลเราจะทำงานยากแค่ไหน สมมุติเราต้องการหาโรงพยาบาลสักแห่งที่อยู่แถวๆรามคำแหง ถ้าไม่มีกูเกิ้ลเราจะถามใคร แล้วใช้เวลาเท่าไรกว่าเราจะรู้ว่ามีโรงพยาบาลอะไรบ้าง กูเกิ้ลรู้ได้อย่างไรว่าจะนำเสนอหน้าเพจไหนให้เรา และเพจไหนควรจะอยู่ลำดับไหนของการค้นหาในแต่ละคีย์เวิร์ด และการนำส่งโฆษณาของกูเกิ้ลอีก กูเกิ้ลรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังสนใจสินค้าตัวนั้น ล้วนแต่เป็นการเรียนรู้ของสมองกลของกูเกิ้ล ในปี 2009 กูเกิ้ลยังสร้างรถไร้คนขับ ชื่อ Waymo และทดลอง ขณะนี้ยังรถไร้คนขับทดสอบวิ่งไปแล้ว 2 ล้านไมล์ในทุกสภาพจราจร ไม่ใช่แค่ กูเกิ้ลเท่านั้น Tesla ผู้ผลิตรถไฟฟ้าก็ได้ทดสอบรถยนต์ไร้คนขับของตัวเองในสภาพถนนต่างๆล่าสุดนำมาทดสอบในการจราจรคับคั่งแล้ว
• SIRI ของ Apple ใครที่ใช้โทรศัพท์ยอดนิยมไอโฟนของ Apple ย่อมต้องคุ้นเคยกับ SIRI ใครไม่เคยใช้อุปกรณ์ใดๆของแอปเปิ้ลอาจจะงง SIRI คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คอยช่วยเหลือและทำตามคำสั่งเรา โดยเราจะออกคำสั่งโดยเสียง แล้ว SIRI จะพยายามค้นหาหรือแปลความหมายว่าเราต้องการหรือให้ทำอะไร ซึ่งโปรแกรมนี้ถูกฝังมาในระบบปฏิบัติการในอุปกรณ์ของแอปเปิ้ล เช่น โทรศัพท์ นาฬิกา ทีวีบ๊อก เป็นต้น
• Email Spam
Filter โปรแกรมจะเรียนรู้และรู้ได้อย่างไร Email ตัวไหนเป็นสแปมและตัวไหนไม่ใช่สแปม
ทั้งหมดที่ยกมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์ที่เราใช้และพบเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งยังมีอีกหลายๆอย่างและมากมายที่ใช้เทคโนโลยีนี้ เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งหลายๆบริษัทใช้เทคโนโลยี AI เป็นเครื่องมือในการซื้อขาย หรืออย่างการควบคุมการบิน การใช้ auto pilot ของนักบินล้วนแล้วแต่เป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้งหมดก็ยังอยู่ในระดับ ANI เพียงแค่นั้น ณ ปัจจุบัน
Bill Gate, Stephen Hawking, Elon Musk, Steve Wozniak และคนมีชื่อเสียงอีกมากมาย ขณะนี้นับได้ประมาณ 8,000 คน ได้ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกเพื่อส่งสารแสดงความกังวลเกี่ยวกับการวิจัยเทคโนโลโลยี AI ซึ่งข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญในการวิจัย ช่วงเวลา ทิศทาง และเป้าหมาย กำหนดกฎเกณฑ์ว่า AI ควรจะมีขอบเขตว่า AI ควรทำอะไรได้และอะไรที่เราต้องการให้ AI ทำ ซึ่งจะเป็นการวิจัยและประดิษฐ์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อสังคมของเรา ในอนาคตข้างหน้าเมื่อเราสร้าง AI ขึ้นมาให้มันฉลาดกว่ามนุษย์ได้แล้ว เราจะสามารถควบคุมและใช้งานได้อย่างเต็มประโยชน์เพื่อมนุษยชาติอย่างปลอดภัย ไม่แน่เมื่อเราสร้าง ASI ได้แล้วโรคที่เราเคยรักษาไม่หายอาจจะรักษาได้ อะไรที่เป็นไปไม่ได้สำหรับสมองมนุษย์ ASI อาจทำขึ้นมาได้และนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์
บอกให้รู้ว่าตอนนี้มนุษย์บนโลกไม่สามารถนิ่งนอนใจได้อีกต่อไป เนื่องจากในอนาคต เมื่อปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ได้มีการพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ สิ่งประดิษฐ์นี้จะทำทุกอย่างแทนมนุษย์ และอาจเกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย อาทิ เมื่อเจ้าของโรงงานเล็งเห็นว่าการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการทำงานในโรงงานนั้น สามารถได้มาตรฐานมากกว่า ทำให้ยกเลิกการจ้างงาน คนที่ทำงานรับจ้างอาจจะเกิดปัญหาตกงาน โดนไล่ออก และส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น